• เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

    1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

    1. มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
    2. มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน

    1.รายละเอียด

    1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดย แสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

    1. การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
    2. การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    3. การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคณุภาพสิ่งแวดล้อม
    4. การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

    1.รายละเอียด

    1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง

    1. นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
    2. มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
    3. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
    4. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

    1.รายละเอียด

    1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี

    1. รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
    2. มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
    3. มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

    1.รายละเอียด

    1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

    1. การใช้ไฟฟ้า
    2. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
    3. การใช้น้ำ
    4. การใช้กระดาษ
    5. ปริมาณของเสีย
    6. ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

    1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

    1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้

    1. ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติโดยคณะกรรมการ หรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวดและบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
    2. กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

    1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้

    1. ประธาน/หัวหน้า
    2. คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)

    1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

    1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม

    1. มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
    2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ
    3. ระบุการใช้พลังงานทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
    4. ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
    5. ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
    6. มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
    7. การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
    8. มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวน การระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    9. กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม ( เช่นมีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้เป็นต้น ) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

    1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ

    1. มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
    2. กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
    3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
    4. กำหนดมาตรการ คู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
    5. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน

    1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

    1. ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
    2. จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
    3. สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
    4. สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
    5. กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
    6. มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง
    7. หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่น เพิ่มเติม

    1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้

    1. ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
    2. มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
    3. มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
    4. มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้

    1.5 ข้อมลูก๊าซเรือนกระจก

    1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย

    1. ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
    2. ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
    3. ปริมาณการใช้น้ำประปา
    4. ปริมาณการใช้กระดาษ
    5. ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือน กระจกล่าสุด)

    1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย

    กรณีบรรลุเป้าหมาย

    1. สรปุสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย

    1. มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไมบ่รรลุเป้าหมาย
    2. มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
    3. มีการติดตามผลหลังแก้ไข

    1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี

    1. ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
    2. แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    3. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย

    หมายเหตุ

    1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
    2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป

    1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการดำเนินการดังนี้

    1. วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญหรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
    2. วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
    3. กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
    4. ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
    5. โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ

    1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    1. มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
    2. ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
    3. มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
    4. มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
    5. ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
    6. มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

    1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)

    1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน

    1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่ง จะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
    2. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    3. มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
    4. กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความ เพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน
    5. การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ภายในสำนักงานครบถ้วนทุกหมวด

    1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

    1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

    1. มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
    2. มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
    3. จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
    4. หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบพร้อมรับข้อเสนอแนะ

    1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้

    1. มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    2. วาระที่ 1 การติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุงระบบฯ ที่ผ่านมา
    3. วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
    4. วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
    5. วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนนิงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึง แนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
    6. วาระที่ 6 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบ ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
    7. วาระที่ 7 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมและวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารรของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
    8. จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

    เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

    2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

    2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม

    1. ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสตูรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
    2. - ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
      - การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธภิาพ
      - การจัดการมลพิษและของเสีย
      - การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
      - ก๊าซเรือนกระจก
    3. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
    4. ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ ประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
    5. จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน

    1.รายละเอียด

    2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม

    1. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
    2. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจาก หน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์

    1.รายละเอียด

    2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน

    2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน

    1. กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อยดังนี้
      1. หัวข้อ ความถี่
        1. นโยบายสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        7. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย ทุกเดือน
        8. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        9. ก๊าซเรือนกระจก ทุกเดือน
    2. กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
    3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
    4. กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

    2.2.2 มีการรณรงค์สือสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1


    2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแตล่ะคนอย่างน้อยตาม ข้อ 2.2.1(1)


    2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้

    1. มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุม เว็บไซต์
    2. มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
    3. มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
    4. มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)

    1.รายละเอียด

    เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

    3.1 การใช้น้ำ

    3.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

    1. การสร้างความตระหนักในการใชน้ำ
    2. การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
    3. การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
    4. การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ

    3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

    การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
    3. บรรลุเป้าหมาย
    4. สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมลูปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมลูปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
    3. มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

    4. หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือ เปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

    3.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการ ประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

    1. นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
    2. มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบาย สิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
    3. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
    4. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

    3.2 การใช้พลังงาน

    3.2.1 มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

    1. การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
    2. การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการ เปิด-ปิด เป็นต้น
    3. การใช้พลังงานทดแทน
    4. การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

    3.2.2 มีการจัดทำข้อมลูการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

    การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
    3. บรรลุเป้าหมาย
    4. สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
    3. มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
    หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อ จ านวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือ เปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

    3.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน

    3.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้

    1. การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    2. การวางแผนการเดินทาง
    3. การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
    4. การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน

    3.2.5 มีการจัดทำข้อมลูการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

    การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
    3. บรรลุเป้าหมาย
    4. สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
    3. มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

    หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือ เปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น

    3.3 การใช้ทรัพยากรอื่นๆ

    3.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

    1. การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
    2. การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
    3. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
    4. การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่

    1.รายละเอียด

    3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

    การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
    3. บรรลุเป้าหมาย
    4. สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
    1. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
    2. มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
    3. มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
    หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อ จำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือ เปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

    3.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

    3.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

    1. การสร้างความตระหนักในการใช้
    2. การกำหนดรูปแบบการใช้
    3. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

    3.3.5 ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)


    3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ

    3.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น


    3.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการ ดังนี้

    1. การจัดเตรียมขนาดห้องประชุมเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
    2. ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการ ตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
    3. การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอก สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    4. การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุมโดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
    5. การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    1.รายละเอียด

    เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

    4.1 การจัดการของเสีย

    4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสมมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี

    1. มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
    2. มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
    3. มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
    4. มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
    5. มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
    6. มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการ อย่างเหมาะสม)
    7. ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)

    4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง

    1. มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
    2. มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
    3. มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
    4. ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง

    4.2 การจัดการน้ำเสีย

    4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงานและคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้

    1. การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสียและจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
    2. มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสม กับองค์ประกอบของน้ำเสีย
    3. มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
    4. มีผลการตรวจสอบคณุภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

    4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดนำเสียโดยมีแนวทาง ดังนี้

    1. มีการดูแลระบบบำบัดนำเสียหรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
    2. มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดนำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดัก ไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
    3. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมบำบัดนำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
    4. มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
    หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อ จำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือ เปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

    เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

    5.1 อากาศในสำนักงาน

    5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน

    1. มีแผนการดูแลรักษาได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
    2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลรักษา
    3. มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
    4. มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1
    5. การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
    6. การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
    7. การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
    8. มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)

    5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบหุรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

    1. มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
    2. มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
    3. มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
    4. เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
    5. ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

    5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

    1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
    2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
      - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
      - มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

    5.2 แสงในสำนักงาน

    5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

    1. มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน
    2. เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
    3. ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
    4. ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

    5.3 เสียง

    5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน

    1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
    2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

    5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

    1. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
    2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้า พบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน
    3. แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
      - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
      - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

    5.4 ความน่าอยู่

    5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้

    1. จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
    2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
    3. มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
    4. การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน

    5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

    5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

    5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

    1. มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
    2. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
    3. มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
    4. มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบ ร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
    5. ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ
    หมายเหตุ การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคสำนักงาน สามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน

    5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

    5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด

    1. มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
    2. จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไมต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพนักงานทั้งหมด
    3. พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    4. มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนดพร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
    5. มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนดพร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
    6. มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
    7. มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
    8. มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

    5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

    5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

    1. มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
    2. - ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับจากดคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
      - ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้า มี)
      - สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี)
    3. ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
    4. - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคาร สูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
      - ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector )หรือความร้อน (heat detector)
    5. มีการตรวจสอบข้อ (1)-(2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
    6. พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
    7. ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

    เกณฑ์การประเมิน ผลการตรวจสอบ
    มี ไม่มี หลักฐานการตรวจประเมิน
    หมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง

    6.1 การจัดซื้อสินค้า

    6.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    1. กำหนดผู้รับผิดชอบและมีความเข้าใจ
    2. ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
    3. จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของสินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของ ต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศ ให้การรับรองนั้นๆ ด้วย
    4. แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มี ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    5. หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธภิาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น

    6.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า

    1. แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมด โดยระบุยี่ห้อ และรุ่นสินค้า
    2. แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
    3. คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการสินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า
    หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็น สินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธภิาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น

    6.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็น สินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธภิาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น

    6.2 การจัดซื้อ

    6.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    1. มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดย จะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
    2. หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น
    3. มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
    4. หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้อง ได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
    5. หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมของตนเองได้
    หมายเหตุ
    - หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อ ยกเว้นข้อ (๒)
    - หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (๒)(๕)

    6.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น

    หมายเหตุ
    1. กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    2. กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน

    6.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรือ อื่นๆ ที่ได้มีการขึ้นทะเบยีนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    หมายเหตุ
    1. สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO14001 Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการจัดการประชุมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ
    2. ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการรับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงานจะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดยจะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่ เหล่านั้น