• หน้าแรก
  • ประวัติ
  • บุคลากร
  • ภาพกิจกรรม
  • งานวิจัย
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เว็บบอร์ด
 
ชื่อภาษาไทย : เครื่องวัดกรดด่าง ชื่อภาษาอังกฤษ : pH meter
ผลิตภัณฑ์/รุ่น : Mettler Toledo รุ่น MP 220 รหัสครุภัณฑ์ : R.I.SK.WB.07.03.06.43
วันที่รับเข้ามา : 0000-00-00
   
 

  

หลักการเบื้องต้นจะใช้วิธีในการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของไอออนในสารละลายระหว่าง Glass Electrode เปรียบเทียบกับ Reference Electrode ซึ่งเป็นเซลล์มาตรฐานที่ทราบค่าศักย์ไฟฟ้าแล้ว
Glass Electrode ประกอบด้วยส่วนรับรู้ค่า pH Glass Membrane ซึ่งปกติจะเป็นลักษณะรูปทรงกลม, Insulating Glass Stem เมื่อ Electrode จุ่มลงสารประกอบไอออนของ ไฮโดรเจนจะมาอยู่ตามบริเวณ Membrane Surface ซึ่งจะทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า
"Electric potential of Glass Electrode will be change depending on sample."
Reference Electrode จะมีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คงที่โดยไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวใด ภายในส่วนที่บรรจุ Reference Electrode จะถูกเติมเต็มด้วย Potassium chloride (KCl ) (ส่วนประกอบ/โครงสร้างของ Electrode อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ)

การใช้งาน pH meter ก่อนการใช้ pH meter จะต้องมีการ calibrate เครื่องโดยใช้สารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐานที่ทราบค่า pH แน่นอน ที่ใช้กันบ่อย ๆ คือ บัฟเฟอร์ pH 4 , 7 และ 10 ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้อง pH meter ที่ใช้จะวัดได้ทั้งค่า pH , millivolt และอุณหภูมิ ดังนั้นในการวัดจึงต้องเลือกฟังก์ชันการวัดให้ถูกต้อง เช่น
ถ้าจะอ่านค่า pH กด read
ถ้าจะอ่านค่า mV กด mode เพื่อเลือกฟังก์ชั่น mV , read
ถ้าจะอ่านค่าอุณหภูมิ กด mode เพื่อเลือกฟังก์ชัน , read

การวัด pH ของสารละลายทำเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ยกอิเล็กโทรดออกจากสารละลายที่แช่ไว้ ฉีดล้างด้วยน้ำกลั่น ซับให้แห้งด้วยกระดาษนุ่ม ๆ
2. จุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่จะวัด
3. กด read เพื่ออ่านค่า pH บันทึกผล
4. ยกอิเล็กโทรดออกจากสารละลาย ฉีดล้างด้วยน้ำกลั่น ซับด้วยกระดาษนุ่ม ๆ ให้แห้ง
5. ถ้าไม่ต้องการจะวัด pH ของสารละลายใด ๆ อีก ก็นำอิเล็กโทรดกลับไปแช่ใน 3 M KCl

-

-

ห้องเตรียมสาร 2 ชั้น 4 โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

 
 
  a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |