กลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านกาะยาง จัดตั้งเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ มีสมาชิกจำนวน ๑๐ คน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๓๐ คน
ความเป็นมาแต่แรกเริ่ม ก่อนที่จีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนั้น เกษตรกรบ้านเกาะยางส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้วยการทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ทำให้เกษตรกรมีเวลาว่างมากหลังจากการประกอบอาชีพหลักในและวัน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน ด้วยเหตุผลนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงแนวคิดเพื่อใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์ จึงได้มีการรวมตัวกันของแม่บ้าน ๑๐ คน นำสมุนไพรที่มีในหมู่บ้านมาทดลองทำเครื่องแกง ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ที่มีความจำเป็นในการบริโภคประจำวัน ทดลองทำเพื่อรับประทานเอง แจกจ่ายสมาชิก และเพื่อนบ้าน ปรากฏว่า รสชาติเป็นที่พึงพอใจ ของสมาชิกและเพื่อนบ้านจึงได้มีการผลิตเพื่อการจำหน่ายมาอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ สมาชิกรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้าน จำนวน ๑๐ คน เพื่อผลิตเครื่องแกงจำหน่าย
ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ กลุ่มได้รวมตัวกันมีการบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นทางการมากขึ้น และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ กโครงการ พนม.(งบจาก ศอ.บต.) ทำให้กลุ่มมีการพัฒนาก้าวหน้า ด้วยการเพิ่มจำนวนสมาชิก เป็น ๓๐ คน มีการบริหารจัดการกลุ่ม กำหนดกฎระเบียบกลุ่ม การร่วมหุ้น และปันผลให้กับสมาชิก
กลุ่ม ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ด้านงบประมาณและการส่งเสริมความรู้ในการพัฒนากิจกรรมของกลุ่ม ทำให้กลุ่มดำเนินการการบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ตําแหน่งที่ตั้งกลุ่ม
เลขที่ ๔๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกาะยาง เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันของแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกาะยาง โดยมีวัตถุดิบในท้องถิ่น มีกรรมวิธีการผลิตที่สืบทอดกันแมา แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มกลับพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นและต้องการจะแก้ไข เพื่อความเป็นเอกลักษณ์และมีมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ต้องการขอขึ้นทะเบียน อย.
2. ต้องการมีแบรนด์และฉลากของผลิตภัณฑ์
จากการที่งานศูนย์เครื่องมือกลาง ได้ลงพื้นที่และสำรวจปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกาะยาง จังหวัดสงขลา ทำให้ทราบถึงปัญหาหลายๆ งานศูนย์เครื่องมือกลาง จึงได้ร่วมมือกับอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เข้ามาช่วยเหลือและให้คำแนะนำดังนี้.
1. ขั้นตอนและวิธีการขอขึ้นทะเบียน อย.
2. ออกแบบฉลากให้มีความทันสมัย
3. เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์